Friday, November 28, 2014

ประเทศเยอรมนี

เยอรมนี (อังกฤษ: Germany; เยอรมัน:Deutschland) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ (อังกฤษ: Federal Republic of Germany; เยอรมัน:Bundesrepublik Deutschland) เป็นประเทศที่มีการปกครองแบบสหพันธ์สาธารณรัฐแบบมีรัฐธรรมนูญในทวีปยุโรปตอนกลาง โดยเป็นการรวมตัวของรัฐทั้งหมด 16 รัฐ ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือเดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก[2]

เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม  UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก

หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก


Wednesday, September 24, 2014

Les animaux domestiques et les animaux de la ferme [สัตว์เลี้ยงในบ้าน และ สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม]

Les animaux domestiques et les animaux de la ferme [สัตว์เลี้ยงในบ้าน และ สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม]

chat [n.m] / chatte [n.f] ชา / ชัต(เตอ) แมว 
- chaton [n.m] ชา-ตง ลูกแมว 
chien [n.m] / chienne [n.f] เชียง / เชียน(เนอ) สุนัข, หมา 
- chiot [n.m] ชิ-โอ ลูกสุนัข, ลูกหมา 




âne [n.m] / ânesse [n.f.] อาน(เนอ) / อา-แนส(เซอ) ลา 
ânon [n.m] อา-นง ลูกลา 

boeuf [n.m], boeufs [n.m.pl.], taureau [n.m.], taureaux [n.m.pl.] / vache [n.f] เบิ๊ฟ, เบอ, โต-โร / ว้าช(เชอ) วัวตัวผู้ / วัวตัวเมีย 
- veau [n.m], veaux [n.m.pl.] โว ลูกวัว 
bouc [n.m] / chèvre [n.f] บูก / แช๊ฟ(เวรอ) แพะตัวผู้ / แพะตัวเมีย 
- chevreau [n.m.] เชอ-วโระ ลูกแพะ 
buffle [n.m.] / bufflonne [n.f.] บืฟ(เฟลอ) / บืฟ-ฟลอน(เนอ) ควายตัวผู้, ควายตัวเมีย 
- buffon [n.m.] บืฟ-ฟง ลูกควาย 

canard [n.m] / cane [n.f] กา-นาร์ / กาน(เนอ) เป็ดตัวผูู้้ / เป็ดตัวเมีย 
- caneton [n.m] กาน-ตง ลูกเป็ด 
cheval [n.m], chevaux [n.m.pl.] / jument [n.f] เชอ-วาล, เชอโว / ชือ-มอง ม้าตัวผูู้้ / ม้าตัวเมีย 
- poulin [n.m] / pouliche [n.f] กา-นาร์ / กาน(เนอ) ลูกม้าตัวผูู้้ / ลูกม้าตัวเมีย 
cochon [n.m], porc [n.m.] / truie [n.f] โก-ชง, ปอร์ / ทรุย หมูตัวผููู้้้ / หมูตัวเมีย 
- cochonnet , porcelet, goret [n.m.] โก-ชอ-เน, ปอร์-เซอ-เล, กอ-เร ลูกหมู 
coq [n.m] / poule [n.f] ก๊อก / ปูล(เลอ) ไก่ตัวผู้, ไก่ตัวเมีย 
- poulet [n.m] / poulette [n.f] / poussin [n.m.] ปู-เล / ปู-แลต(เตอ) / ปุส-แซง ไก่กระทงตัวผู้ / ไกกระทงตัวเมีย / ลูกเจี๊ยบ 

dindon [n.m.] / dinde [n.f.] แดง-ดง / แดง(เดอ) ไก่งวงตัวผู้ / ไก่งวงตัวเมีย 
- dindonneau [n.m.], dindonneaux [n.m.pl] แดง-ดอน-โน ลูกไก่งวง 

lapin [n.m.] / lapine [n.f.] ลา-แปง / ลา-ปิน(เนอ) กระต่ายตัวผู้ / กระต่ายตัวเมีย 
- lapereau [n.m.], lapereaux [n.m.pl.] ลา-เปอ-โร ลูกกระต่าย 

mouton [n.m.] , bélier [n.m.] / brebis [n.f.] มู-ตง, เบ-ลิ-เย / เบรอ-บิ แกะ , แกะตัวผูู้้ / แกะตัวเมีย 
- agneau [n.m.], agneaux [n.m.pl.] อา-โย ลูกแกะ 

oie [n.f.] / jars [n.m.] อัว / ชาร์ ห่านตัวเมีย / ห่านตัวผู้ 
oison [n.m.] อัว-ซง ลูกห่าน 


Les animaux sauvages [สัตว์ป่า์, สัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติ] 

abeille [n.m.] อะ-แบย(เยอ) ผึ้ง 
aigle [n.m.] แอ๊ก(เกลอ) นกอินทรี 
- aiglon [n.m.] แอ๊ก-กลง ลูกนกอินทรี 
araignée [n.f.] อา-แรน-เย่ แมงมุม 
autruche [n.f.] โอ-ทรืช(เชอ) นกกระจอกเทศ 
- autruchon [n.m.] โอ-ทรือ-ชง ลูกนกกระจอกเทศ 

baleine [n.f.] บา-แลน(เนอ) ปลาวาฬ 
blaireau [n.m.], blaireaux [n.m.pl] บแล-โร ชะมด 
belette [n.f.] เบอ-แล๊ต(เตอ) พังพอน 
bestiole [n.f.] แบส-ติ-ออล(เลอ) แมลงปีกแข็ง 

calamar (หรือ) calmar [n.m.] / seiche [n.f.] กา-ลา-มา (หรือ) กาล-มา / แซช(เชอ) ปลาหมึก 
castor [n.m.] กาส-ตอร์ ตัวบีเวอร์ 
cerf [n.m.] / biche [n.f.] แซร์ / บิช(เชอ) กวางตัวผู้ / กวางตัวเมีย 
- faon [n.m.] ฟอง ลูกกวาง 
chameau [n.m.] / chamelle [n.f.] / dromadaire [n.m.] ชา-โม / ชา-แมล(เลอ) / โดร-มา-แดร์ อูฐตัวผู้ / อูฐตัวเมีย / อูฐ(พันธุ์ที่มีโหนกเดียวกลางหลัง) 
- chamelon [n.m.] ชา-เมอ-ลง ลูกอูฐ 
chamois [n.m.] ชา-มัว เลียงผา 
chauve-souris [n.m.] โช๊ฟ-ซู-ริ ค้างคาว 
chevreuil [n.m.] เชอ-วเรย อีเก้ง, กวาง 
chimpanzé [n.m.] แชง-ปอง-เซ ลิงชิมแพนซี 
coccinelle [n.f.] ก๊อก-ซิ-แนล (แมลง)เต่าทอง 
colombe [n.f.] โก-ลง(เบอ) นกพิราบขาว 
coquillage [n.m.] โก-กิ-ยาช(เชอ) หอย 
corbeau [n.m.] กอร์-โบ (นก) อีกา 
crabe [n.m.] คราบ(เบอ) ปู 
crapaud [n.m.] ครา-โป คางคก 
crevette [n.f.] เครอ-แว๊ต(เตอ) กุ้ง 
crocodile [n.m.] โคร-โค-ดิล(เลอ) จรเข้ 

daim [n.m.] แด็ง กวางทราย 
dauphin [n.m.] โด-แฟง ปลาโลมา 

écureuil [n.m.] เอ-กือ-เรย กระรอก 
éléphant mâle [n.m.] / éléphant femelle [n.f.] เอ-เล-ฟอง มาล(เลอ) / เอ-เล-ฟอง เฟอ-แมล(เลอ) ช้างตัวผู้ / ช้างตัวเมีย 
- éléphanteau [n.m.] เอ-เล-ฟอง-โต ลูกช้าง 
éléphant de mer [n.m.], phoque [n.m.], otarie [n.f.] เอ-เล-ฟอง เดอ แมร์, ฟ๊อก(เกอ), ออ-ตา-รี แมวนํ้าขนาดใหญ่ หรือ สิงโตทะเล, แมวนํ้า 
escargot [n.m.] แอส-การ์-โก หอยทาก 

faisan [n.m.] / faisane [n.f.] เฟอ-ซอง / เฟอ-ซาน(เนอ) ไก่ฟ้าตัวผู้ / ไก่ฟ้าตัวเมีย 
- faisandeau [n.m.] เฟอ-ซอง-โด ลูกไก่ฟ้า 
faucon [n.m.] โฟ-กง เหยี่ยว 
fourmi [n.f.] ฟูร์-มิ มด 

gazelle [n.f.] กา-แซล(เลอ) สัตว์ชนิดเนื้อทราย 
girafe [n.f.] ชิ-ราฟ(เฝอ) ยีราฟ 
- girafon [n.m.], girafeau [n.m.] ชิ-ราฟง, ชิ-รา-โฟ ลูกยีราฟ 
gorille [n.m.] กอ-ริล(เลอ) ลิงกอริลลา 
grenouille [n.f.] เกรอ-นุย(เยอ) กบ 
guêpe [n.f.] แก๊ป(เปอ) ตัวต่อ 

hérisson [n.m.] เอ-ลิส-ซง เม่น 
hibou [n.m.] อิ-บู นกฮูก นกเค้าแมว 
hippopotame [n.m.] อิป-โป-โป-ตาม(เมอ) ฮิปโปโปเตมัส 
hirondelle [n.f.] อิ-รง-แดล(เลอ) นกนางแอ่น 
huître [n.f.] อือ-อิต(เทรอ) หอยนางรม 

kangourou [n.m.] กอง-กู-รู จิงโจ้ 
kiwi [n.m.] กิ-วิ นกกีวี่ 

léopard [n.m.] เล-โอ-ปาร์ เสือดาว 
lièvre [n.m.] / hase [n.f.] ลิ-แอฟ(เวรอ) / อาส(เซอ) กระต่ายป่าตัวผู้ / กระต่ายป่าตัวเมีย 
- levraut [n.m.] เลอ-โวร ลูกกระต่ายป่า 
lézard [n.m.] เล-ซาร์ กิ้งก่า, จิ้งจก 
lion [n.m.] / lionne ลิ-อง / ลิ-ออน สิงห์โตตัวผู้, สิงห์โตตัวเมีย 
- lionceau [n.m.] ลิ-อง-โซ ลูกสิงห์โต 
loup [n.m.] ลู หมาป่า 
loutre [n.f.] ลูต(เทรอ) นาก 

moineau [n.m.] มัว-โน นกกระจอก 
mouche [n.f.] มุช(เชอ) แมลงวัน 
moule [n.f.] มุล(เลอ) หอยแมงภู่ 
moustique [n.m.] มุส-ติก(เกอ) ยุง 
mulet [n.m.] / mule [n.f.] มือ-เล / มืล(เลอ) ฬ่อตัวผู้ / ฬ่อตัวเมีย 

oiseau [n.m.], oiseaux [n.m.pl.] อัว-โซ นก 
ours [n.m.] / ourse [n.f.] อูร์ส / อูร์ส(เซอ) หมีตัวผู้, หมีตัวเมีย 
- ourson [n.m.] อูร์-ซง ลูกหมี 

panthère [n.m.] ปอง-แต(เรอ) เสือลาย 
paon [n.m.] / paonne [n.f.] ปอง / ปาน(เนอ) นกยูงตัวผู้ / นกยูงตัวเมีย 
papillon [n.m.] ปา-ปิ-ยง ผีเสื้อ 
perdrix [n.f.] แปร์-ดริ นกกระทา 
perdreau [n.m.] แปร์-โดร ลูกนกกระทา 
perroquet [n.m.] แปร์-โร-เก้ นกแก้ว 
pigeon [n.m.] ปิ-ชง นกพิราบ 
pingouin [n.m.] แปง-กู-แอง นกเพนกวิน 

rat [n.m.] / rate [n.f.] รา์ / ร๊าต(เตอ) หนู(พันธุ์ใหญ่)ตัวผู้ / หนู(พันธุ์ใหญ่)ตัวเมีย 
renard [n.m.] / renarde [n.f.] เรอ-นาร์ / เรอ-นาร์ด หมาจิ้งจอกตัวผู้ / หมาจิ้งจอกตัวเมีย 
renne [n.m.] แรน(เนอ) กวางเรนเดีียร์(กวางลากเลื่อน) 
requin [n.m.] เรอ-แกง ปลาฉลาม 
rhinocéros [n.m.] ริ-โน-เซ-รอส แรด 
rongeurs [n.m.pl.] รง-เชอ สัตว์จำพวกกัดแทะเช่นหนู กระรอก 

sanglier [n.m.] / laie [n.f.] ซอง-กลิ-เย / แล หมูป่าตัวผู้ / หมูป่าตัวเมีย 
- marcassin [n.m.] มาร์-กัส-แซง ลูกหมูป่า 
saumon [n.m.] โซ-มง ปลาแซลม่อน 
serpent [n.m.] แซร์-ปอง งูี 
singe [n.m.] / guenon [n.f.] แซ๊ง(เชอ) / เกอ-นง ลิง / ลิงตัวเมีย 
souris [n.f.] ซู-ริ หนู(พันธุ์เล็ก) หนูบ้าน 

taupe [n.f.] โตบ(เปอะ) ตัวตุ่น 
thon [n.m.] ตง ปลาทูน่า 
tigre [n.m.] / tigresse [n.f.] ตีก(เกรอ) / ตี-แกรส(เซอ) เสือตัวผู้ / เสือตัวเมีย 
tortue [n.f.] ตอร์-ตือ ูเต่า 
tourterelle [n.f.] ตูร์-เตอ-แรล(เลอ) นกเขา 
truite [n.f.] ทรุต(เตอ) ปลาเทร๊าท์ 

vautour [n.m.] โว-ตูร์ แร้ง 
vipère [n.f.] วิ-แป(เรอ) ูงูพิษ 

zèbre [n.m.] แซบ(เบรอ) ม้าลาย 

Wednesday, September 10, 2014

เทศกาล “บ๊ะจ่าง”

 เทศกาล “บ๊ะจ่าง” (端午节 ตวนอู่เจี๋ยหรือ เทศกาลตวงโหงว) เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 ของปฎิทินจีน  และสำหรับประเทศไทย ซี่งปีนี้ตรงกับวันที่ 2 มิถุนายน 2557  หลายคนอาจสงสัยว่าตำนานของเทศกาล “บ๊ะจ่าง” มาจากไหน ใครเป็นคนกำหนด เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และ มีความสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวจีน
images
               เทศกาล “บ๊ะจ่าง  หรือ หรือเทศกาลไหว้ “ขนมจ้าง”  เรียกชื่อตามตำราว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย“ บ๊ะจ่างนี้คนจีนจะเรียกว่า “จั่ง粽子(จ้งจึ)” แม่บ้านที่มีฝีมือจะลงมือทําขนมจ้างเอง เรียกว่า “ปักจั่ง“ 
               เทศกาลบ๊ะจ่างเป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของชาวจีน คือ  เทศกาลตรุษจีน  เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลบ๊ะจ่าง ซึ่งชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
01
ตำนานเทศกาลไห้วขนมบ๊ะจ่าง
               ตํานานเทศกาลไหว้ขนมบ๊ะจ่าง  เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๖๘  ในรัชสมัยของกษัตริย์ก๊กฉู่  มีขุนนางผู้หนึ่งนามว่า “คุกง้วน“ หรือ ชีหยวน  (340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช)  ซึ่งเป็นขุนนางตงฉิน รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นขุนนางในสมัยพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นที่ปรึกษาและดูแลเหล่าเชื้อพระวงศ์ ชีหยวนเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ และเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ ถือเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้ง  จึงทำให้ชีหยวนเป็นที่รักใคร่ของประชาชน
               เมื่อมีคนรัก แน่นอนย่อมต้องมีคนชังเป็นธรรมดา เหล่าขุนนางกังฉินทั้งหลายต่างก็ไม่พอใจชีหยวน ด้วยความที่ชีหยวนนั้นเป็นคนที่ซื่อตรง ทำงานอย่างตรงไปตรงมา จึงมีหลายครั้งที่การทำงานของชีหยวนไปขัดขวางการโกงกินบ้านโกงกินเมืองของขุนนางกังฉินเหล่านั้น  พวกเขาจึงรวมหัวกันพยายามใส่ไคล้ชีหยวนต่างๆ นานา จนพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเองก็ชักเริ่มมีใจเอนเอียง 
“               จนในที่สุดฮ่องเต้หูเบาก็หลงเชื่อ สั่งให้เนรเทศชีหยวนออกจากเมืองไป  ระหว่างที่ร่อนเร่พเนจรอยู่นั้น  ชีหยวนก็ได้แต่งบทกลอนเล่าถึงชีวิตที่รันทดและความอยุติธรรมของฮ่องเต้ไว้มากมาย พอความทราบถึงฮ่องเต้ ก็ยิ่งทรงพิโรธหนักเข้าไปอีก  ส่วนชีหยวนก็ยังอดรนทนไม่ได้ที่จะกราบทูลเสนอแนะข้อราชการที่เป็นประโยชน์กับทางราชการให้กับองค์ฮ่องเต้  แต่ฮ่องเต้ก็ไม่ทรงสนพระทัยชีหยวนเลยแม้แต่น้อย
“               ขุนนางชีหยวนน้อยอกน้อยใจมาก เลยไปกระโดดน้ำตายที่แม่น้ำไหม่โหลย ในมณฑลยูนนาน ซึ่งตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 นั่นเอง  (บางตำราก็ว่ากระโดดน้ำที่ แม่น้ำเปาะล่อกัง  บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง)
“               พอพวกชาวบ้านรู้ข่าว  ก็พากันไปช่วยงมหาศพ แต่หาศพเท่าไหร่ก็หาไม่พบ ชาวบ้านเลยเอาข้าวโปรยลงไปในน้ำพร้อมกับอธิฐาน ขออย่าให้ พวกปูปลามากัดกินศพของชีหยวนเลย กินแต่ข้าวที่โปรยไว้ให้ก็พอ
55380
“               หลังจากนั้นทุกปีเมื่อถึงวันครบรอบวันตายของชีหยวน ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกัง หลังจากที่ทำมาได้ 2 ปี ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชีหยวนที่มาในชุดอันสวยงาม กล่าวขอบคุณเหล่าชาวบ้านที่นำเอาอาหารไปโปรยให้เพื่อเซ่นไหว้ แต่เขาบอกว่าอาหารที่เหล่าชาวบ้านนำไปโปรยเพื่อเป็นเครื่องเซ่นถูกเหล่าสัตว์น้ำกินเสียจนหมดเกลี้ยง เนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย ชีหยวนจึงแนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนนำไปโยนลงน้ำ เพื่อที่เหล่าสัตว์น้ำจะได้นึกว่าเป็นต้นไม้อะไรสักอย่าง จะได้ไม่กินเข้าไป
“               หลังจากนั้นในปีต่อมา ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชีหยวนแนะนำ คือนำอาหารห่อด้วยใบไผ่ไปโยนลงน้ำเพื่อเซ่นให้แก่ชีหยวน หลังจากวันนั้นชีหยวนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีก ว่าคราวนี้ได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชีหยวนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำราญจึงได้ถามชีหยวนว่าควรทำเช่นไรดี ชีหยวนจึงแนะนำอีกว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำ ให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกรไป เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน
“               จากนั้นเป็นต้นมา ในแต่ละปีชาวเมืองเสฉวนซึ่งอยู่ติดกับมณฑลยูนนาน ที่ซึ่งชีหยวนปกระโดดน้ำตาย ก็จะมาร่วมกันระลึกถึงขุนนางผู้ซื่อสัตย์คนนี้ ด้วยการเอาใบจ่างมาห่อข้าวและกับ เมื่อห่อเรียบร้อยแล้วจึงเอาไปโยนลงน้ำ และนี่เองจึงเป็นที่มาของ เทศกาลไหว้ขนมจ้าง ที่ยังคงความศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน
1b262e66c5
“               จากตำนานเล่าขาน กลายเป็นประเพณีการไหว้ขนมบ๊ะจ่าง  ซึ่งจะมีในช่วงเดือน 5 ของจีน ตรงกับฤดูร้อน ช่วงนี้จะมีการไหว้เจ้าด้วยขนมบะจ่าง สาเหตุที่ไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่าง เพราะเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อาหารมักเก็บได้ไม่นาน เน่าเสียง่าย แต่บะจ่างที่ทำจากข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น และการไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่างในช่วงฤดูร้อนจะทำให้มีความเป็นอยู่ดี เมื่อไหว้เสร็จคนจีนจะเอาไปชุบน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดงเพื่อนำมารับประทาน อันถือว่าจะทำให้เกิดสิ่งมงคลต่าง ๆ
 
Image

Thursday, September 4, 2014

Vanilla

วานิลลา (อังกฤษVanilla) เป็นกลิ่นที่ได้จากฝักของกล้วยไม้สกุล Vanilla ต้นกำเนิดจากเม็กซิโก ชื่อวานิลลามาจากคำในภาษาสเปนว่า "ไบย์นียา" (vainilla) ซึ่งแปลว่า ฝักเล็ก ๆ วานิลลามักถูกนำมาใช้แต่งกลิ่นในการทำอาหารประเภทของหวานและไอศกรีม
การใช้วานิลลาในการประกอบอาหารทำโดยกรีดฝักวานิลลาออกและขูดนำเอาเมล็ดในฝักไปใช้ประกอบอาหาร หรือนำทั้งฝักไปต้มน้ำและช้อนออก วานิลลาแท้มีราคาสูงมาก จึงทำให้มีการประดิษฐ์กลิ่นวานิลลาสังเคราะห์ที่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามกลิ่นที่ได้จากวานิลลาสังเคราะห์มีความเข้มของกลิ่นไม่เท่ากับของจริง
ประเทศผู้ผลิตวานิลลาที่ใหญ่ที่สุดคือ มาดากัสการ์

Cape of Good Hope

แหลมกู๊ดโฮป (อังกฤษCape of Good Hopeแอฟริคานส์Kaap die Goeie Hoopดัตช์Kaap de Goede Hoop) คือแหลมที่ยื่นออกไปทางด้านมหาสมุทรแอตแลนติกไม่ไกลจากเคปทาวน์ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปมักจะเข้าใจผิดกันว่าแหลมกู๊ดโฮปตั้งอยู่ตอนปลายสุดของทวีปแอฟริกาและเป็นจุดที่แบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย แต่ตามความเป็นจริงแล้วแหลมที่อยู่ปลายสุดของทวีปแอฟริกาคือแหลมอะกะลัส (Cape Agulhas) ประมาณ 150 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความสำคัญของแหลมกู๊ดโฮปเป็นความสำคัญทางจิตวิทยา เพราะถ้าเดินทางตามแนวฝั่งจากเส้นศูนย์สูตรแล้วแหลมกู๊ดโฮปก็จะเป็นจุดที่เป็นการเริ่มหันการเดินทางไปทางตะวันออกมากกว่าที่จะเดินทางต่อไปทางใต้ ฉะนั้นการเดินทางรอบแหลมกู๊ดโฮปในปี ค.ศ. 1488 จึงเป็นจุดหมายสำคัญในการพยายามโดยชาวจักรวรรดิ ในการพบเส้นทางการค้าจากยุุโรปโดยตรงไปยังตะวันออกไกล
เพราะความที่เป็นแหลมที่สำคัญที่สุดแหลมหนึ่งในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ แหลมกู๊ดโฮปจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับกะลาสีมาเป็นเวลานาน จนได้รับสมญาที่เรียกกันโดยทั่วไปง่าย ๆ ว่า “the Cape” และเป็นจุดหมายสำคัญเส้นทางคลิปเปอร์ (clipper route) ตามเส้นทางของเรือคลิปเปอร์ไปยังตะวันออกไกลและออสเตรเลียและยังใช้ในการเป็นเส้นทางของการแข่งขันเรือยอทหลายประเภท
นอกจากนั้นคำว่า “แหลมกู๊ดโฮป” ก็ยังหมายถึงเคปโคโลนี อาณานิคมที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1652 ในบริเวณแหลม ก่อนที่จะก่อตั้งสหภาพแอฟริกาใต้ คำว่า “แหลมกู๊ดโฮป” หมายถึงภูมิภาคทั้งหมดที่ต่อมาเป็นจังหวัดเคปในปี ค.ศ. 1910

Friday, July 11, 2014

Crepes เครปสไตล์ฝรั่งเศส

เครปสูตรพื้นฐาน (Basic Crepe)  7 inches six  pieces ได้เครป 6 ชิ้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 นิ้ว
บ้านมีอยู่กันสองคน แพมก็เลยหารสูตรลงมาเยอะเลยคะ กินไม่หมดหรอก ทำเยอะๆ
- แป้งอเนกประสงค์ร่อนก่อนใช้ (All purposed flour  )  55 g.
- เกลือ  (Salt )   1/8 tsp.
- น้ำตาล (Sugar )   2 tsp.
- ไข่ไก่เบอร์สอง  (Large egg )   1
-นมสด  (Whole milk  )  160 g.
- เนยจืดละลาย  (Melt  unsalted butter )15 g.
PicPlayPostPhoto
20131121-085458.jpg
20131121-085525.jpg
วิธีการทำ Instruction
1.เตรียมกระทะให้ร้อน ทาเนยลงบนผิวกระทะเล็กน้อย
Heat the pan over medium-high heat. When the pan is hot,add the butter.
2. ผสมไข่ นมสดและเนยละลายตีเข้าด้วยกัน จากนั้นใส่ของแห้งที่เหลือลงไป ใช้ตระกร้อมือตีเบาๆจนทุกอย่างละลายจนเนียนเป็นเนื้อเดียว
In the large mixing bowl,combine egg ,melted butter and milk together. Add flour,salt sugar and whisk until all ingredients are not lumpy.
3. ตักส่วนผสมหรือเทในปริมาณ 1/3 ถ้วยลงในกระทะ หมุนหรือเอียงให้ส่วนผสมเคลือบติดตัวกระทะจนทั่ว เมื่อเราเห็นว่าด้านข้างๆของตัวเครปเริ่มกรอบ ให้พลิกอีกด้านนึงของตัวเครปด้วยไม้พาย ทอดอีกด้านให้สุกอีก 45 วินาทีโดยประมาณ
Pour approximately 1/3  cup of the batter into the pan. Move and lean the pan a little bit which made it cover the pan. When you see edges getting cracks or the bottom is light brown,turn and cook side.
20131121-085507.jpg- – -

Friday, June 27, 2014

La Fête Nationale

วันบัสตีย์ เป็นวันชาติของฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ในประเทศฝรั่งเศส วันดังกล่าวถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "งานเฉลิมฉลองแห่งชาติ" (La Fête Nationale) และเรียกโดยทั่วไปว่า "สิบสี่กรกฎา" (le quatorze juillet) วันดังกล่าวเป็นการรำลึกถึงวันหยุดสหพันธรัฐ (Fête de la Fédération) ในปี ค.ศ. 1790 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการโจมตีคุกบัสตีย์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 หนึ่งปีพอดี วันครบรอบการบุกโจมตีคุกปราการบัสตีย์ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์การลุกฮือของชาติสมัยใหม่ และการปรองดองชาวฝรั่งเศสด้วยราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สมัยก่อนสาธารณรัฐที่ 1 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส งานฉลองและพิธีการทางการถูกจัดขึ้นทั่วประเทศฝรั่งเศส การเดินสวนสนามประจำปีที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปถูกจัดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม บนถนนช็องเซลีเซในปารีส ต่อหน้าประธานาธิบดีฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแขกต่างประเทศ

เหตุการณ์และประเพณี

การเดินสวนสนามเริ่มจากนักเรียนทหารจากโรงเรียนทหารหลายแห่ง จากนั้นจึงเป็นทหารราบ ทหารยานยนต์ อากาศยานจากปาทรูยเดอฟร็องส์บินอยู่บนท้องฟ้า ในปัจจุบัน ได้กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะเชิญหน่วยทหารจากประเทศพันธมิตรของฝรั่งเศสร่วมเดินสวนสนามด้วย ในปี ค.ศ. 2004 อันเป็นปีครบรอบหนึ่งร้อยปีความตกลงฉันทไมตรี (Entente Cordiale) ทหารอังกฤษได้นำการเดินสวนสนามวันบัสตีย์เป็นครั้งแรก โดยมีเรดแอโรวส์บินอยู่เหนือศีรษะ ในปี ค.ศ. 2007 กองพลน้อยพลร่มที่ 26 ของเยอรมนีนำหน้าการเดินสวนสนาม ตามด้วยนาวิกโยธินอังกฤษ
ในวันนี้ยังเป็นวันที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะให้สัมภาษณ์แก่สื่อ โดยอภิปรายสถานการณ์ของประเทศ เหตุการณ์ปัจจุบัน และโครงการในอนาคต แต่นีกอลา ซาร์กอซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนที่ 23 ปฏิเสธจะให้สัมภาษณ์
รัฐธรรมนูญแห่งฝรั่งเศส มาตรา 17 ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดี ในการอภัยโทษแก่ผู้กระทำความผิด และตั้งแต่ ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ใช้อำนาจนี้ในการอภัยโทษผู้กระทำความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นผู้กระทำผิดกฎจราจร ในวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี แต่หลังจากปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา อดีตประธานาธิบดีซาร์กอซีประกาศให้ยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าว

การเดินสวนสนาม

การเดินสวนสนามวันบัสตีย์นั้นเป็นการเดินสวนสนามฝรั่งเศสที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในกรุงปารีสนับตั้งแต่ ค.ศ. 1880 ในตอนเช้าวันที่ 14 กรกฎาคม แต่ก่อนการเดินสวนสนามดังกล่าวจัดขึ้นที่อื่นในหรือใกล้กับกรุงปารีส แต่หลังจากปี ค.ศ. 1918 ได้ย้ายมาจัดที่ถนนช็องเซลีเซ ด้วยการเห็นพ้องอย่างชัดเจนของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เป็นตัวแทนในการประชุมสันติภาพแวร์ซาย ยกเว้นช่วงที่เยอรมนียึดครองฝรั่งเศสจาก ค.ศ. 1940 ถึง 1944 ขบวนสวนสนามเคลื่อนลงมาตามถนนช็องเซลีเซ จากประตูชัยฝรั่งเศสไปถึงจัตุรัสกงกอร์ด ที่ซึ่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส คณะรัฐบาลและเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศฝรั่งเศสยืนอยู่ การเดินสวนสนามวันบัสตีย์ได้รับความนิยมในฝรั่งเศส มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ และเป็นการเดินสวนสนามเป็นปกติที่เก่าแก่ที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ในบางปียังได้มีการเชิญทหารต่างประเทศเข้าร่วมในขบวนสวนสนามและเชิญรัฐบุรุษต่างประเทศเข้าร่วมในฐานะแขก
นอกจากนี้ ยังมีการเดินขบวนสวนสนามขนาดเล็กกว่าตามเมืองที่มีกองทหารประจำอยู่ของฝรั่งเศส อันประกอบด้วยทหารในท้องถิ่นนั้น