Wednesday, September 24, 2014

Les animaux domestiques et les animaux de la ferme [สัตว์เลี้ยงในบ้าน และ สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม]

Les animaux domestiques et les animaux de la ferme [สัตว์เลี้ยงในบ้าน และ สัตว์เลี้ยงในฟาร์ม]

chat [n.m] / chatte [n.f] ชา / ชัต(เตอ) แมว 
- chaton [n.m] ชา-ตง ลูกแมว 
chien [n.m] / chienne [n.f] เชียง / เชียน(เนอ) สุนัข, หมา 
- chiot [n.m] ชิ-โอ ลูกสุนัข, ลูกหมา 




âne [n.m] / ânesse [n.f.] อาน(เนอ) / อา-แนส(เซอ) ลา 
ânon [n.m] อา-นง ลูกลา 

boeuf [n.m], boeufs [n.m.pl.], taureau [n.m.], taureaux [n.m.pl.] / vache [n.f] เบิ๊ฟ, เบอ, โต-โร / ว้าช(เชอ) วัวตัวผู้ / วัวตัวเมีย 
- veau [n.m], veaux [n.m.pl.] โว ลูกวัว 
bouc [n.m] / chèvre [n.f] บูก / แช๊ฟ(เวรอ) แพะตัวผู้ / แพะตัวเมีย 
- chevreau [n.m.] เชอ-วโระ ลูกแพะ 
buffle [n.m.] / bufflonne [n.f.] บืฟ(เฟลอ) / บืฟ-ฟลอน(เนอ) ควายตัวผู้, ควายตัวเมีย 
- buffon [n.m.] บืฟ-ฟง ลูกควาย 

canard [n.m] / cane [n.f] กา-นาร์ / กาน(เนอ) เป็ดตัวผูู้้ / เป็ดตัวเมีย 
- caneton [n.m] กาน-ตง ลูกเป็ด 
cheval [n.m], chevaux [n.m.pl.] / jument [n.f] เชอ-วาล, เชอโว / ชือ-มอง ม้าตัวผูู้้ / ม้าตัวเมีย 
- poulin [n.m] / pouliche [n.f] กา-นาร์ / กาน(เนอ) ลูกม้าตัวผูู้้ / ลูกม้าตัวเมีย 
cochon [n.m], porc [n.m.] / truie [n.f] โก-ชง, ปอร์ / ทรุย หมูตัวผููู้้้ / หมูตัวเมีย 
- cochonnet , porcelet, goret [n.m.] โก-ชอ-เน, ปอร์-เซอ-เล, กอ-เร ลูกหมู 
coq [n.m] / poule [n.f] ก๊อก / ปูล(เลอ) ไก่ตัวผู้, ไก่ตัวเมีย 
- poulet [n.m] / poulette [n.f] / poussin [n.m.] ปู-เล / ปู-แลต(เตอ) / ปุส-แซง ไก่กระทงตัวผู้ / ไกกระทงตัวเมีย / ลูกเจี๊ยบ 

dindon [n.m.] / dinde [n.f.] แดง-ดง / แดง(เดอ) ไก่งวงตัวผู้ / ไก่งวงตัวเมีย 
- dindonneau [n.m.], dindonneaux [n.m.pl] แดง-ดอน-โน ลูกไก่งวง 

lapin [n.m.] / lapine [n.f.] ลา-แปง / ลา-ปิน(เนอ) กระต่ายตัวผู้ / กระต่ายตัวเมีย 
- lapereau [n.m.], lapereaux [n.m.pl.] ลา-เปอ-โร ลูกกระต่าย 

mouton [n.m.] , bélier [n.m.] / brebis [n.f.] มู-ตง, เบ-ลิ-เย / เบรอ-บิ แกะ , แกะตัวผูู้้ / แกะตัวเมีย 
- agneau [n.m.], agneaux [n.m.pl.] อา-โย ลูกแกะ 

oie [n.f.] / jars [n.m.] อัว / ชาร์ ห่านตัวเมีย / ห่านตัวผู้ 
oison [n.m.] อัว-ซง ลูกห่าน 


Les animaux sauvages [สัตว์ป่า์, สัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติ] 

abeille [n.m.] อะ-แบย(เยอ) ผึ้ง 
aigle [n.m.] แอ๊ก(เกลอ) นกอินทรี 
- aiglon [n.m.] แอ๊ก-กลง ลูกนกอินทรี 
araignée [n.f.] อา-แรน-เย่ แมงมุม 
autruche [n.f.] โอ-ทรืช(เชอ) นกกระจอกเทศ 
- autruchon [n.m.] โอ-ทรือ-ชง ลูกนกกระจอกเทศ 

baleine [n.f.] บา-แลน(เนอ) ปลาวาฬ 
blaireau [n.m.], blaireaux [n.m.pl] บแล-โร ชะมด 
belette [n.f.] เบอ-แล๊ต(เตอ) พังพอน 
bestiole [n.f.] แบส-ติ-ออล(เลอ) แมลงปีกแข็ง 

calamar (หรือ) calmar [n.m.] / seiche [n.f.] กา-ลา-มา (หรือ) กาล-มา / แซช(เชอ) ปลาหมึก 
castor [n.m.] กาส-ตอร์ ตัวบีเวอร์ 
cerf [n.m.] / biche [n.f.] แซร์ / บิช(เชอ) กวางตัวผู้ / กวางตัวเมีย 
- faon [n.m.] ฟอง ลูกกวาง 
chameau [n.m.] / chamelle [n.f.] / dromadaire [n.m.] ชา-โม / ชา-แมล(เลอ) / โดร-มา-แดร์ อูฐตัวผู้ / อูฐตัวเมีย / อูฐ(พันธุ์ที่มีโหนกเดียวกลางหลัง) 
- chamelon [n.m.] ชา-เมอ-ลง ลูกอูฐ 
chamois [n.m.] ชา-มัว เลียงผา 
chauve-souris [n.m.] โช๊ฟ-ซู-ริ ค้างคาว 
chevreuil [n.m.] เชอ-วเรย อีเก้ง, กวาง 
chimpanzé [n.m.] แชง-ปอง-เซ ลิงชิมแพนซี 
coccinelle [n.f.] ก๊อก-ซิ-แนล (แมลง)เต่าทอง 
colombe [n.f.] โก-ลง(เบอ) นกพิราบขาว 
coquillage [n.m.] โก-กิ-ยาช(เชอ) หอย 
corbeau [n.m.] กอร์-โบ (นก) อีกา 
crabe [n.m.] คราบ(เบอ) ปู 
crapaud [n.m.] ครา-โป คางคก 
crevette [n.f.] เครอ-แว๊ต(เตอ) กุ้ง 
crocodile [n.m.] โคร-โค-ดิล(เลอ) จรเข้ 

daim [n.m.] แด็ง กวางทราย 
dauphin [n.m.] โด-แฟง ปลาโลมา 

écureuil [n.m.] เอ-กือ-เรย กระรอก 
éléphant mâle [n.m.] / éléphant femelle [n.f.] เอ-เล-ฟอง มาล(เลอ) / เอ-เล-ฟอง เฟอ-แมล(เลอ) ช้างตัวผู้ / ช้างตัวเมีย 
- éléphanteau [n.m.] เอ-เล-ฟอง-โต ลูกช้าง 
éléphant de mer [n.m.], phoque [n.m.], otarie [n.f.] เอ-เล-ฟอง เดอ แมร์, ฟ๊อก(เกอ), ออ-ตา-รี แมวนํ้าขนาดใหญ่ หรือ สิงโตทะเล, แมวนํ้า 
escargot [n.m.] แอส-การ์-โก หอยทาก 

faisan [n.m.] / faisane [n.f.] เฟอ-ซอง / เฟอ-ซาน(เนอ) ไก่ฟ้าตัวผู้ / ไก่ฟ้าตัวเมีย 
- faisandeau [n.m.] เฟอ-ซอง-โด ลูกไก่ฟ้า 
faucon [n.m.] โฟ-กง เหยี่ยว 
fourmi [n.f.] ฟูร์-มิ มด 

gazelle [n.f.] กา-แซล(เลอ) สัตว์ชนิดเนื้อทราย 
girafe [n.f.] ชิ-ราฟ(เฝอ) ยีราฟ 
- girafon [n.m.], girafeau [n.m.] ชิ-ราฟง, ชิ-รา-โฟ ลูกยีราฟ 
gorille [n.m.] กอ-ริล(เลอ) ลิงกอริลลา 
grenouille [n.f.] เกรอ-นุย(เยอ) กบ 
guêpe [n.f.] แก๊ป(เปอ) ตัวต่อ 

hérisson [n.m.] เอ-ลิส-ซง เม่น 
hibou [n.m.] อิ-บู นกฮูก นกเค้าแมว 
hippopotame [n.m.] อิป-โป-โป-ตาม(เมอ) ฮิปโปโปเตมัส 
hirondelle [n.f.] อิ-รง-แดล(เลอ) นกนางแอ่น 
huître [n.f.] อือ-อิต(เทรอ) หอยนางรม 

kangourou [n.m.] กอง-กู-รู จิงโจ้ 
kiwi [n.m.] กิ-วิ นกกีวี่ 

léopard [n.m.] เล-โอ-ปาร์ เสือดาว 
lièvre [n.m.] / hase [n.f.] ลิ-แอฟ(เวรอ) / อาส(เซอ) กระต่ายป่าตัวผู้ / กระต่ายป่าตัวเมีย 
- levraut [n.m.] เลอ-โวร ลูกกระต่ายป่า 
lézard [n.m.] เล-ซาร์ กิ้งก่า, จิ้งจก 
lion [n.m.] / lionne ลิ-อง / ลิ-ออน สิงห์โตตัวผู้, สิงห์โตตัวเมีย 
- lionceau [n.m.] ลิ-อง-โซ ลูกสิงห์โต 
loup [n.m.] ลู หมาป่า 
loutre [n.f.] ลูต(เทรอ) นาก 

moineau [n.m.] มัว-โน นกกระจอก 
mouche [n.f.] มุช(เชอ) แมลงวัน 
moule [n.f.] มุล(เลอ) หอยแมงภู่ 
moustique [n.m.] มุส-ติก(เกอ) ยุง 
mulet [n.m.] / mule [n.f.] มือ-เล / มืล(เลอ) ฬ่อตัวผู้ / ฬ่อตัวเมีย 

oiseau [n.m.], oiseaux [n.m.pl.] อัว-โซ นก 
ours [n.m.] / ourse [n.f.] อูร์ส / อูร์ส(เซอ) หมีตัวผู้, หมีตัวเมีย 
- ourson [n.m.] อูร์-ซง ลูกหมี 

panthère [n.m.] ปอง-แต(เรอ) เสือลาย 
paon [n.m.] / paonne [n.f.] ปอง / ปาน(เนอ) นกยูงตัวผู้ / นกยูงตัวเมีย 
papillon [n.m.] ปา-ปิ-ยง ผีเสื้อ 
perdrix [n.f.] แปร์-ดริ นกกระทา 
perdreau [n.m.] แปร์-โดร ลูกนกกระทา 
perroquet [n.m.] แปร์-โร-เก้ นกแก้ว 
pigeon [n.m.] ปิ-ชง นกพิราบ 
pingouin [n.m.] แปง-กู-แอง นกเพนกวิน 

rat [n.m.] / rate [n.f.] รา์ / ร๊าต(เตอ) หนู(พันธุ์ใหญ่)ตัวผู้ / หนู(พันธุ์ใหญ่)ตัวเมีย 
renard [n.m.] / renarde [n.f.] เรอ-นาร์ / เรอ-นาร์ด หมาจิ้งจอกตัวผู้ / หมาจิ้งจอกตัวเมีย 
renne [n.m.] แรน(เนอ) กวางเรนเดีียร์(กวางลากเลื่อน) 
requin [n.m.] เรอ-แกง ปลาฉลาม 
rhinocéros [n.m.] ริ-โน-เซ-รอส แรด 
rongeurs [n.m.pl.] รง-เชอ สัตว์จำพวกกัดแทะเช่นหนู กระรอก 

sanglier [n.m.] / laie [n.f.] ซอง-กลิ-เย / แล หมูป่าตัวผู้ / หมูป่าตัวเมีย 
- marcassin [n.m.] มาร์-กัส-แซง ลูกหมูป่า 
saumon [n.m.] โซ-มง ปลาแซลม่อน 
serpent [n.m.] แซร์-ปอง งูี 
singe [n.m.] / guenon [n.f.] แซ๊ง(เชอ) / เกอ-นง ลิง / ลิงตัวเมีย 
souris [n.f.] ซู-ริ หนู(พันธุ์เล็ก) หนูบ้าน 

taupe [n.f.] โตบ(เปอะ) ตัวตุ่น 
thon [n.m.] ตง ปลาทูน่า 
tigre [n.m.] / tigresse [n.f.] ตีก(เกรอ) / ตี-แกรส(เซอ) เสือตัวผู้ / เสือตัวเมีย 
tortue [n.f.] ตอร์-ตือ ูเต่า 
tourterelle [n.f.] ตูร์-เตอ-แรล(เลอ) นกเขา 
truite [n.f.] ทรุต(เตอ) ปลาเทร๊าท์ 

vautour [n.m.] โว-ตูร์ แร้ง 
vipère [n.f.] วิ-แป(เรอ) ูงูพิษ 

zèbre [n.m.] แซบ(เบรอ) ม้าลาย 

Wednesday, September 10, 2014

เทศกาล “บ๊ะจ่าง”

 เทศกาล “บ๊ะจ่าง” (端午节 ตวนอู่เจี๋ยหรือ เทศกาลตวงโหงว) เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 ของปฎิทินจีน  และสำหรับประเทศไทย ซี่งปีนี้ตรงกับวันที่ 2 มิถุนายน 2557  หลายคนอาจสงสัยว่าตำนานของเทศกาล “บ๊ะจ่าง” มาจากไหน ใครเป็นคนกำหนด เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และ มีความสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวจีน
images
               เทศกาล “บ๊ะจ่าง  หรือ หรือเทศกาลไหว้ “ขนมจ้าง”  เรียกชื่อตามตำราว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย“ บ๊ะจ่างนี้คนจีนจะเรียกว่า “จั่ง粽子(จ้งจึ)” แม่บ้านที่มีฝีมือจะลงมือทําขนมจ้างเอง เรียกว่า “ปักจั่ง“ 
               เทศกาลบ๊ะจ่างเป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของชาวจีน คือ  เทศกาลตรุษจีน  เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลบ๊ะจ่าง ซึ่งชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
01
ตำนานเทศกาลไห้วขนมบ๊ะจ่าง
               ตํานานเทศกาลไหว้ขนมบ๊ะจ่าง  เป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๖๘  ในรัชสมัยของกษัตริย์ก๊กฉู่  มีขุนนางผู้หนึ่งนามว่า “คุกง้วน“ หรือ ชีหยวน  (340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช)  ซึ่งเป็นขุนนางตงฉิน รับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นขุนนางในสมัยพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นที่ปรึกษาและดูแลเหล่าเชื้อพระวงศ์ ชีหยวนเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ และเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ ถือเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นที่ตั้ง  จึงทำให้ชีหยวนเป็นที่รักใคร่ของประชาชน
               เมื่อมีคนรัก แน่นอนย่อมต้องมีคนชังเป็นธรรมดา เหล่าขุนนางกังฉินทั้งหลายต่างก็ไม่พอใจชีหยวน ด้วยความที่ชีหยวนนั้นเป็นคนที่ซื่อตรง ทำงานอย่างตรงไปตรงมา จึงมีหลายครั้งที่การทำงานของชีหยวนไปขัดขวางการโกงกินบ้านโกงกินเมืองของขุนนางกังฉินเหล่านั้น  พวกเขาจึงรวมหัวกันพยายามใส่ไคล้ชีหยวนต่างๆ นานา จนพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเองก็ชักเริ่มมีใจเอนเอียง 
“               จนในที่สุดฮ่องเต้หูเบาก็หลงเชื่อ สั่งให้เนรเทศชีหยวนออกจากเมืองไป  ระหว่างที่ร่อนเร่พเนจรอยู่นั้น  ชีหยวนก็ได้แต่งบทกลอนเล่าถึงชีวิตที่รันทดและความอยุติธรรมของฮ่องเต้ไว้มากมาย พอความทราบถึงฮ่องเต้ ก็ยิ่งทรงพิโรธหนักเข้าไปอีก  ส่วนชีหยวนก็ยังอดรนทนไม่ได้ที่จะกราบทูลเสนอแนะข้อราชการที่เป็นประโยชน์กับทางราชการให้กับองค์ฮ่องเต้  แต่ฮ่องเต้ก็ไม่ทรงสนพระทัยชีหยวนเลยแม้แต่น้อย
“               ขุนนางชีหยวนน้อยอกน้อยใจมาก เลยไปกระโดดน้ำตายที่แม่น้ำไหม่โหลย ในมณฑลยูนนาน ซึ่งตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 นั่นเอง  (บางตำราก็ว่ากระโดดน้ำที่ แม่น้ำเปาะล่อกัง  บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง)
“               พอพวกชาวบ้านรู้ข่าว  ก็พากันไปช่วยงมหาศพ แต่หาศพเท่าไหร่ก็หาไม่พบ ชาวบ้านเลยเอาข้าวโปรยลงไปในน้ำพร้อมกับอธิฐาน ขออย่าให้ พวกปูปลามากัดกินศพของชีหยวนเลย กินแต่ข้าวที่โปรยไว้ให้ก็พอ
55380
“               หลังจากนั้นทุกปีเมื่อถึงวันครบรอบวันตายของชีหยวน ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำเปาะล่อกัง หลังจากที่ทำมาได้ 2 ปี ก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชีหยวนที่มาในชุดอันสวยงาม กล่าวขอบคุณเหล่าชาวบ้านที่นำเอาอาหารไปโปรยให้เพื่อเซ่นไหว้ แต่เขาบอกว่าอาหารที่เหล่าชาวบ้านนำไปโปรยเพื่อเป็นเครื่องเซ่นถูกเหล่าสัตว์น้ำกินเสียจนหมดเกลี้ยง เนื่องจากบริเวณนั้นมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย ชีหยวนจึงแนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนนำไปโยนลงน้ำ เพื่อที่เหล่าสัตว์น้ำจะได้นึกว่าเป็นต้นไม้อะไรสักอย่าง จะได้ไม่กินเข้าไป
“               หลังจากนั้นในปีต่อมา ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชีหยวนแนะนำ คือนำอาหารห่อด้วยใบไผ่ไปโยนลงน้ำเพื่อเซ่นให้แก่ชีหยวน หลังจากวันนั้นชีหยวนก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีก ว่าคราวนี้ได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชีหยวนได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำราญจึงได้ถามชีหยวนว่าควรทำเช่นไรดี ชีหยวนจึงแนะนำอีกว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำ ให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกรไป เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน
“               จากนั้นเป็นต้นมา ในแต่ละปีชาวเมืองเสฉวนซึ่งอยู่ติดกับมณฑลยูนนาน ที่ซึ่งชีหยวนปกระโดดน้ำตาย ก็จะมาร่วมกันระลึกถึงขุนนางผู้ซื่อสัตย์คนนี้ ด้วยการเอาใบจ่างมาห่อข้าวและกับ เมื่อห่อเรียบร้อยแล้วจึงเอาไปโยนลงน้ำ และนี่เองจึงเป็นที่มาของ เทศกาลไหว้ขนมจ้าง ที่ยังคงความศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงปัจจุบัน
1b262e66c5
“               จากตำนานเล่าขาน กลายเป็นประเพณีการไหว้ขนมบ๊ะจ่าง  ซึ่งจะมีในช่วงเดือน 5 ของจีน ตรงกับฤดูร้อน ช่วงนี้จะมีการไหว้เจ้าด้วยขนมบะจ่าง สาเหตุที่ไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่าง เพราะเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อาหารมักเก็บได้ไม่นาน เน่าเสียง่าย แต่บะจ่างที่ทำจากข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น และการไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่างในช่วงฤดูร้อนจะทำให้มีความเป็นอยู่ดี เมื่อไหว้เสร็จคนจีนจะเอาไปชุบน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดงเพื่อนำมารับประทาน อันถือว่าจะทำให้เกิดสิ่งมงคลต่าง ๆ
 
Image

Thursday, September 4, 2014

Vanilla

วานิลลา (อังกฤษVanilla) เป็นกลิ่นที่ได้จากฝักของกล้วยไม้สกุล Vanilla ต้นกำเนิดจากเม็กซิโก ชื่อวานิลลามาจากคำในภาษาสเปนว่า "ไบย์นียา" (vainilla) ซึ่งแปลว่า ฝักเล็ก ๆ วานิลลามักถูกนำมาใช้แต่งกลิ่นในการทำอาหารประเภทของหวานและไอศกรีม
การใช้วานิลลาในการประกอบอาหารทำโดยกรีดฝักวานิลลาออกและขูดนำเอาเมล็ดในฝักไปใช้ประกอบอาหาร หรือนำทั้งฝักไปต้มน้ำและช้อนออก วานิลลาแท้มีราคาสูงมาก จึงทำให้มีการประดิษฐ์กลิ่นวานิลลาสังเคราะห์ที่ราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามกลิ่นที่ได้จากวานิลลาสังเคราะห์มีความเข้มของกลิ่นไม่เท่ากับของจริง
ประเทศผู้ผลิตวานิลลาที่ใหญ่ที่สุดคือ มาดากัสการ์

Cape of Good Hope

แหลมกู๊ดโฮป (อังกฤษCape of Good Hopeแอฟริคานส์Kaap die Goeie Hoopดัตช์Kaap de Goede Hoop) คือแหลมที่ยื่นออกไปทางด้านมหาสมุทรแอตแลนติกไม่ไกลจากเคปทาวน์ของประเทศแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปมักจะเข้าใจผิดกันว่าแหลมกู๊ดโฮปตั้งอยู่ตอนปลายสุดของทวีปแอฟริกาและเป็นจุดที่แบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย แต่ตามความเป็นจริงแล้วแหลมที่อยู่ปลายสุดของทวีปแอฟริกาคือแหลมอะกะลัส (Cape Agulhas) ประมาณ 150 กิโลเมตรไปทางตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความสำคัญของแหลมกู๊ดโฮปเป็นความสำคัญทางจิตวิทยา เพราะถ้าเดินทางตามแนวฝั่งจากเส้นศูนย์สูตรแล้วแหลมกู๊ดโฮปก็จะเป็นจุดที่เป็นการเริ่มหันการเดินทางไปทางตะวันออกมากกว่าที่จะเดินทางต่อไปทางใต้ ฉะนั้นการเดินทางรอบแหลมกู๊ดโฮปในปี ค.ศ. 1488 จึงเป็นจุดหมายสำคัญในการพยายามโดยชาวจักรวรรดิ ในการพบเส้นทางการค้าจากยุุโรปโดยตรงไปยังตะวันออกไกล
เพราะความที่เป็นแหลมที่สำคัญที่สุดแหลมหนึ่งในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ แหลมกู๊ดโฮปจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับกะลาสีมาเป็นเวลานาน จนได้รับสมญาที่เรียกกันโดยทั่วไปง่าย ๆ ว่า “the Cape” และเป็นจุดหมายสำคัญเส้นทางคลิปเปอร์ (clipper route) ตามเส้นทางของเรือคลิปเปอร์ไปยังตะวันออกไกลและออสเตรเลียและยังใช้ในการเป็นเส้นทางของการแข่งขันเรือยอทหลายประเภท
นอกจากนั้นคำว่า “แหลมกู๊ดโฮป” ก็ยังหมายถึงเคปโคโลนี อาณานิคมที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1652 ในบริเวณแหลม ก่อนที่จะก่อตั้งสหภาพแอฟริกาใต้ คำว่า “แหลมกู๊ดโฮป” หมายถึงภูมิภาคทั้งหมดที่ต่อมาเป็นจังหวัดเคปในปี ค.ศ. 1910