Tuesday, October 1, 2013

สาระน่ารู้ อาเซียน

ASEAN : อาเซียน

ความเป็นมาของอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาชิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่าง
ประเทศสิงคโปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมา ได้มีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติมได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 7 มกราคม 2557) เวียดนาม (วันที่ 28 กรกฎาคม 2538) ลาว พม่า
(วันที่ 23 กรกฎาคม 2540) และกัมพูชา (เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้
อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาเซียนก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความ ร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมส่งเสริมสันติภาพ
และความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สีแดงหมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัต สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคงนโยบายการดำเนินงานของอา เซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้การประชุมสุดยอด (ASEAN Summit) หรือ การประชุมของผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อกำหนด นโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและ แผนงานของอาเซียนในระยะยาวซึ่งจะปรากฏเป็นเอกสารในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อ พิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน
ด้านการเมืองและความ มั่นคง อาเซียนได้จัดทำปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่ง สันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง  (Zone of Peace. Freedom and Neutrality –ZOPFAN) ในปี 2514 จัดทำสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation-TAC) ในปี 2519 และจัดทำสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Traty on the Southeast Asian Nuclear Weapon-Free Zone-SEANWFZ) ในปี 2538 รวมทั้งได้ริเริ่มการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความ มั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum-ARF) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อปี 2537
ด้าน เศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area-AFTA) ในปี 2535 เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันเพื่อช่วยส่งเสริมการค้าภายในอาเซียนให้มี ปริมาณเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการผลิตสินค้า และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ กับทั้งได้ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้การรวมตัวทาง เศรษฐกิจสมบูรณ์แบบและมีทิศทางทางชัดเจนด้วยการจัดตั้งเขตลงทุนอาเซียน ASEAN Investment Area-AIA ด้านสังคม อาเซียนมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation) ในประเด็นด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ครอบคลุมในหลายด้าน เพื่อให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิต
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงาน ใน กรอบอาเซียนประกอบด้วย 1) สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (Secretary-General of ASEAN) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ที่ผ่านมาผู้แทนจากประเทศไทยดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนแล้ว 2 ท่าน คือ ฯพณ” นายแผน วรรณเมธี ระหว่างปี 2527-2529 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ระหว่างปี 2551-2555 2) สำนักงานเลขาธิการแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนมี หน้าที่ประสานกิจการอาเซียนและติดตามผลการดำเนินงานในประเทศนั้น 3) สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศและคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representatives-CPR) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากประเทศ สมาชิก มีภารกิจในการสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและองค์กรระดับ รัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา รวมทั้งประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ ตลอดจนดูแลความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก ประเทศไทยได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำอาเซียนและมีคณะผู้แทน ถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาร์กาตา
ในโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทายไป พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องประเทศสมาชิกเห็น พ้องกันถ้าความสำคัญของการมีส่วนร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ในการ พัฒนาศักยภาพในการร่วมมือกับปัญหาและความท้าทายตลอดจนเพื่อสร้างความแข็ง แกร่งและอำนาจต่อรองให้กับประเทศสมาชิกผู้นำอาเซียนได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญา ว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community ) ภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน โดยในด้านการเมืองให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน” หรือ ASEAN Political-Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ซึ่งต่อมา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้น กว่าเดิมอีก 5 ปี คือ ภายในปี 2558 (ค.ศ.2015) ได้เล็งเห็นว่าสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถคงบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์ใน ภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อา เซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมายให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการการลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานให้ด้านเศรษฐกิจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้านคือ 1)การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม โดยได้กำหนดเป้าหมายเวลาที่จะค่อย ๆ ลดหรือยกเลิกอุปสรรคระหว่างกันเป็นระยะ ทั้งนี้ กำหนดเป้าหมายให้ลดภาษีสินค้าเป็น 0% และลดหรือเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี สำหรับประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศภายในปี 2553 เปิดตลาดภาคบริการและเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2558 และเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2553 2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยให้ความสำคัญกับ ประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและพลังงาน 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ เช่นข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration-IAI) เป็นต้น เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก และ 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Political-Security Community)
อา เซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อเสริมสร้าง และธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี
เพื่อรองรับการเป็น ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประเทศสมาชิกได้ร่วมจัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint)  โดยเน้น 3 ประการ คือ 1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านทุจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาธิบาล เป็นต้น 2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน ที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม ซึ่งหมายถึง มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาทโดยสันติเพื่อป้องกัน สงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง นอกจากนี้ ยังขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ และ 3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก กำหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบ ASEAN+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community)
อา เซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียว โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation) ภายใต้ประเด็นเชิงสังคมและวัฒนธรรมที่ครอบคลุมในหลายด้าน ได้แก่ เยาวชน การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน การขจัดความยากจน สวัสดิการสังคมและการพัฒนา วัฒนธรรมและสารนิเทศ กิจการพลเรือน การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด และการจัดการภัยพิบัติ สิทธิมนุษยชน โดยมีคณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน
อา เซียนได้ตั้งเป้าการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี 2558 โดยมุ่งหวังในเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปันประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมี การพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการ เป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
(1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development)
(2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
(3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
(4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
(5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity)
(6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขา (Sectural)
ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting) และระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Council) รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคมและวัฒนธรรม (Senior officials Committee for ASEAN Socio-Cultural Community)
ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน
ความ สัมพันธ์อาเซียน-จีนเริ่มขึ้นเมื่อปี 2534 และในปี 2539 ได้ยกสถานะเป็น full dialogue partner ในปี 2549 ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีนสมัยพิเศษ ที่นครหนานหนิง เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 15 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน และในปี 2554 จีน และอาเซียนจะจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์ด้านการเมือง/ความมั่นคง จีนเป็นประเทศคู่เจรจาแรกที่ภาคยานุวัติสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ในปี 2546 และเป็นประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ประเทศแรกที่แสดงความพร้อมที่จะลง นามในพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ด้านเศรษฐกิจ จีนเป็นประเทศคู่เจรจาประเทศแรกที่เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีกับอา เซียน โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามใน ASEAN-China Framework Agreement on Economic Cooperation เมื่อปี 2545 ซึ่งวางเป้าหมายให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนกับประเทศสมาชิกอาเซียน เก่า 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และบรูไน ภายในปี 2553 และกับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) ภายในปี 2558 โดยอาเซียน-จีนได้ลงนามความตกลงด้านการค้าสินค้าในปี 2547 ความตกลงด้านการค้าบริการในปี 2550 และความตกลงด้านการลงทุนในปี 2552ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนมีผลสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 ม.ค.2553 ซึ่งทำให้อัตราภาษีศุลกากรสินค้าส่วนใหญ่เหลือ 0% (เฉพาะประเทศอาเซียนเก่า 6 ประเทศกับจีน) ในปี 2552 อาเซียน-จีนมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 1.5 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2551 ประมาณ 3 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่จีนได้กลายเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของอาเซียน และอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ของจีนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม มูลค่าการลงทุนระหว่างกันยังอยู่ในระดับต่ำ (ปี 2551 จีนลงทุนในอาเซียน 1.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็น 2.4% ของเงินลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด)จีนเป็นประเทศคู่เจรจาประเทศที่ 3 ที่อาเซียนได้ร่วมลงนามความตกลงจัดตั้ง (www.asean-china-center.org/english) และคาดว่าจะสามารถจัดตั้งศูนย์ฯ ที่กรุงปักกิ่งได้ภายใน 2-3 ปี ข้างหน้าด้านการพัฒนา อาเซียนและจีนได้กำหนดให้มีความร่วมมือใน 11 สาขาหลัก ได้แก่ เกษตรเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลงทุน การพัฒนาลุ่มน้ำโขง การคมนาคมขนส่งพลังงาน วัฒนธรรม สาธารณสุข การท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อมด้านความเชื่อมโยง อาเซียนได้ผลักดันเรื่องความเชื่อมโยง (connectivity) ภายในภูมิภาค และจีนได้จัดตั้งกองทุนอาเซียน-จีนเพื่อการลงทุน และโครงการสินเชื่อเชิงพาณิชย์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโครงข่ายคมนาคม โทรคมนาคม พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติภายในอาเซียน โดยรับข้อเสนอโครงการทั้งจากภาครัฐและเอกชนอาเซียนและจีนกำลังจัดทำ Plan of Action to Implement the joint Declaration on ASEAN-Chiana Strategic Partnership for Peace and Prosperity (2554-2558) เนื่องจากฉบับเก่าจะหมดอายุลงในสิ้นปี 2553 นี้ โดยไทยได้มีข้อเสนอแนะในเรื่องที่สำคัญ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง และการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ภัยพิบัติ เป็นต้นนอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายได้สรุปความตกลงด้านการขนส่งทางอากาศระหว่างอา เซียน-จีนแล้ว และมีกำหนดลงนามในเดือน พ.ย.2553
ข้อมูลพื้นฐานประเทศสมาชิกอาเซียน
บรูไน ดารสซาลามุ (BRUNEI DARUSSALAM)
เมืองหลวง                           บันดาร์เสรีเบกาวัน
วันชาติ                               23 กุมภาพันธ์
สกุลเงิน                              ดอลล่าร์บรูไน
วันเข้าร่วมอาเซียน                  7 มกราคม 2527
ราชอาณาจักรกัมพูชา (KINGDOM OF CAMBODIA)
เมืองหลวง                           กรงพนมเปญ
วันชาติ                               9 พฤศจิกายน
สกุลเงิน                              เรียล
วันเข้าร่วมอาเซียน                  9 เมษายน 2542
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  (REPUBLIC OF INDONESIA)
เมืองหลวง                           กรุงจาการ์ตา
วันชาติ                               17 สิงหาคม
สกุลเงิน                              รูเปียห์
วันเข้าร่วมอาเซียน                  8 สิงหาคม 2510
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (LAO PEPLE’ S DEMOCRATIC REPUBLIC)
เมืองหลวง                           นครหลวงเวียงจันทร์
วันชาติ                               2 ธันวาคม
สกุลเงิน                              กีบ
วันเข้าร่วมอาเซียน                  23 กรกฎาคม 2540
มาเลเซีย (MALASIA)
เมืองหลวง                           กรุงกัวลาลัมเปอร์
วันชาติ                               31 สิงหาคม
สกุลเงิน                              ริงกิต
วันเข้าร่วมอาเซียน                  8 สิงหาคม 2510
สหภาพพม่า (THE UNION OF MYANMAR)
เมืองหลวง                           เมืองเนปีดอ
วันชาติ                               4 มกราคม
สกุลเงิน                              จั๊ด
วันเข้าร่วมอาเซียน                  23 กรกฎาคม 2540
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (REPUBLIC OF THE PHILIPPINES)
เมืองหลวง                           กรุงมะนิลา
วันชาติ                               12 มิถุนายน
สกุลเงิน                              เปโซ
วันเข้าร่วมอาเซียน                  8 สิงหาคม 2510
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (REPUBLIC OF SINGAPORE)
เมืองหลวง                           สิงคโปร์
วันชาติ                               9 สิงหาคม
สกุลเงิน                              ดอลล่าร์สิงคโปร์
วันเข้าร่วมอาเซียน                  8 สิงหาคม 2510
ราชอาณาจักรไทย (KINGDOM OF THAILAND)
เมืองหลวง                           กรุพเทพมหานคร
วันชาติ                               5 ธันวาคม
สกุลเงิน                              บาท
วันเข้าร่วมอาเซียน                  8 สิงหาคม 2510
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM)
เมืองหลวง                           กรุงฮานอน
วันชาติ                               2 กันยายน
สกุลเงิน                              ด่ง
วันเข้าร่วมอาเซียน                  28 กรกฎาคม 2538
อ้างอิง ASEAN Mini Book กรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ
http://www.mfa.go.th/asean/asean_web/media/aseanMiniBook.pdf
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
ใน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ.2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรฯ คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรฯ จะเป็นสถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental organization)
กฎบัตรฯ ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียนได้แก่ (1) การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก (4) การให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตาม กฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบ ต่อผลประโยชน์ร่วม ซึ่งทำให้การตีความหลักการห้ามแทรกแซงกิจการภายในมีความยืดหยุ่นมากขึ้น (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุก เฉินได้อย่างทันท่วงที (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปีจัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
กฎบัตรอา เซียนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 กล่าวคือ หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

No comments:

Post a Comment